วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ต้นศิลป์ สตูดิโอ 27-10-2016

วันนี้เรามีโอกาสมาเยี่ยมชม home office ของพี่โหน่ง  คุณชาตรี ลดาลลิตสกุล ผู้ก่อตั้งต้นศิลป์ สตูดิโอ ที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกับอาศรมศิลป์ พี่โหน่งเป็นอีกผู้ร่วมออกแบบโครงการสัปปายะสภาสถานร่วมกับอาศรมศิลป์ แม้จะมีเวลาไม่มากในการสำรวจและเยี่ยมชมต้นศิลป์ สตูดิโอ แต่ก็ได้ข้อคิดดีๆ จากพี่โหน่งกลับมาทำงานมากมาย




ผังของบ้านจะมีลักษณะคล้ายกับตัวยู มีชานตรงกลางเปิดโล่งเชื่อมต่อพื้นที่ทั้งสองฝั่งไว้ด้วยกัน ที่ชานตรงกลางก็จะเป็นช่องเปิดรับลมธรรมชาติเข้าสู่บ้าน เพราะทางหน้าบ้านเป็นทิศใต้ซึ่งจะมีลมพัดผ่านตลอด สแปนเสามีขนาดกว้างถึง 10 เมตร ทางด้านหน้าของชานจะมีบ่อน้ำเล็กๆ เป็นความตั้งใจของพี่โหน่งที่อยากให้ลมที่พัดเข้าสู่บ้านนำความชื้นจากบ่อน้ำเข้ามาด้วย ซึ่งจะทำให้ลมเย็นขึ้น
เมื่อมองจากรูปที่สอง พื้นที่ด้านซ้ายจะเป็นห้องนั่งเล่นและครัว พื้นที่ด้านขวาจะเป็นห้องเรียนดนตรีซึ่งภรรยาของพี่โหน่งเป็นครูสอนดนตรี



ด้านบนของชานจะเป็นห้องทำงานของพี่โหน่ง ซึ่งผนังแนวยาวเป็นกระจกทั้งสองฝั่งเพื่อเชื่อมโยงกับธรรมชาติสีเขียวภายนอก ซึ่งด้านหน้าเป็นต้นยูงทองที่พี่โหน่งตั้งใจปลูกไว้ตั้งแต่ตอนสร้างบ้านเพื่อให้ร่มเงาแก่บ้านจากการแผ่กิ่งก้านของมัน ส่วนต้นไม้ด้านหลังเป็นของหมู่บ้านที่ทำสวนย่อมและปลูกต้นไม้ไว้
ซึ่งผนังกระจกด้านหลังสามารถเปิดปิดเพื่อรับลมธรรมชาติได้ ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงก็เพื่อลดความตึงเครียดระหว่างทำงาน ส่วนด้านบน(ชั้น 3) ก็เป็นพื้นที่ทำงานศิลปะซึ่งผนังแนวยาวจะเปิดปิดได้เพื่อรับลมธรรมชาติและรับแสงแดดที่ส่องเข้ามาในบ้าน





ความเป็น tropical ของบ้านหลังนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากบ้านพื้นถิ่นทางภาคเหนือที่พี่โหน่งเติบโตขึ้นมา จึงมีการนำเอากลิ่นอายจากบ้านเก่า เช่น ใต้ถุนจากบ้านเก่าที่ใช้วางเครื่องมือทำการเกษตรก็เปลี่ยนมาเป็น common area ในบ้าน เป็นที่นั่งเล่นและรับลมธรรมชาติ










Lecture จากพี่โหน่ง
Tropical เราจะได้ออกแบบสถาปัตยกรรมประเภทนี้ หัวใจของ Tropical คือ spiritual จิตของมัน เราเรียนรู้แต่กระบวนท่าไม่ใช่เคล็ดวิชา

สุนทรียศาสตร์ เครื่องมือประโยชน์นิยมไม่สามารถจับได้ แต่มันเป็น spiritual

Gray space in architecture พื้นที่สีเทาป้องกันภายในอีกช้น เปิดรับอิทธิพลภายนอกจากธรรมชาติ connect เชื่อมโยงข้างนอกกับธรรมชาติ(รับพลังดี)

Bawa Conceptual space ที่เป็นพื้นที่สีเทา gray scaleคือ สวรรค์  การเบลอขอบเขตของ space สิ่งที่อยู่ข้างนอกและในเกิดเป็นนามธรรมด้วยซึ่งหัวใจของมันไม่ใช่การปิด-เปิด

ภาษาสถาปัตยกรรม สิ่งที่สถาปัตยกรรมพูดกับเเรา เช่น จุดเรียงต่อกันเป็นเส้น conceptual ของเส้น เกิดนามธรรม เช่น เสื่อปูสนามหญ้า เป็น conceptual space เชื่อมโยงกับภายนอก ความสูงของ volume ด้านสูงจะไม่ค่อยชัดเจน เทาอ่อนพอตั้งเสา 4 ต้นขึ้นมาก็จะเริ่มเป็นเทาเข้มคือขอบเขตเริ่มชัดเจนขึ้น จนกระทั้งใส่หลังคาก็จะเป็นเทาเข้มขึ้นไปอีก ขอบเขตก็จะชัดขึ้นตาม

เรียนรู้ space ของญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า เอ็น

จุดอ่อนของคนไทยคือ ไม่เก่ง global พอที่จะจูนกับความเป็นไทยได้ เราต้องทำให้รูปร่างสมัยใหม่แต่ให้จิตเป็นของเรา

ถ้าทำแต่ Part ที่เป็นของเรา เราจะไม่ชนะ ใช้ know how แต่ spiritual เป็นของเรา จิต คือจิตที่เป็นนามธรรม

การออกแบบมี 2 หัวข้อใหญ่
1. เนื้อหา - การอธิบายไป มีที่มาที่ไป
2. พลัง - (จิต) ต้องรับรู้ผ่านพลัง ต้องการการอธิบายนิดนึง

การใช้ไม้จะต่างกัน
วัสดุ ไม้ - สัจจะวัสดุ
         คอนกรีต - สัจจะนิยมของยุคสมัย
         โมเสส
         function - วิถีชีวิตที่ชัดเจน

Design question -
1. ทำอะไร
2. เข้าไปแล้วออกมาเค้าจะเป็นยังไง เปลี่ยนไปยังไง
3. จะอวดยังไง แนวคิดคืออะไร
4. ภาษาของมันคืออะไร

Design process
1. การวิเคราะห์
2. ตั้งเป้าหมาย
3. แนวคิด แนวทางในการออกแบบ
4. ภาษาทางสถาปัตยกรรม

การออกแบบ phrase ความสงบ ไม่ได้ออกแบบพื้นที่ให้สงบแต่ออกแบบ "ความงามของความสงบ" คำตอบความงามของคุณใช้อัตตาได้ และถ้าเข้าใจชีวิต ถือว่าดี จับด้วยสุนทรียศาสตร์จะละเอียด นำเขาไปพบกับความงาม

unity การใช้สอย สภาพจิตใจ เป็นหนทางให้ spiritual เปิดตัว synchonize เข้าไป, เกิดเพราะอะไร

สุนทรียศาสตร์มีระดับของมัน อยู่ในไอเดียที่ทำให้น่าสนใจถึงขั้นไปอธิบายความจริงของชีวิตได้ จะเพิ่มความน่าสนใจ

สุนทรียศาสตร์ของญี่ปุ่น - ความถูกต้องจัดอันดับต่ำสุด
                                         ความน่าสนใจ
                                         ความจริงจะอยู่เหนือความน่าสนใจ
                                         ความงามอยู่เหนือความจริง

ศิลปินญุี่ปุ่นจะแสวงหาสิ่งหนึ่งที่เรียกว่าจ็อกหรือบริสุทธิ์ การยอมรับความจริงของชีวิต Jew


รุ่งอรุณ
- ใครคือเจ้าบ้าน ใครคือแขกบ้าง
- จิตวิญญาณที่จะบอกคนอื่น
- ห้องรับแขก เราจะอวดอะไรให้เค้าเห็นอะไร ให้เค้าร่วมคิดร่วมสร้างอะไร
- function ที่ใช้งาน วัสดุไม้ สะพานไม้, จิตวิญญาณ ปรัชญาแนวคิด บอกหมด
- Degree ที่จะทำ ต้องใช่ก่อนผิวเผิน หรือถึงแกน ให้ความสนใจบางเรื่องมากเป็นพิเศษ เช่น ความสัมพันธ์กับธรรมชาติเปลี่ยนให้ใช่ยิ่งขึ้นเพราะอะไร ได้รับลมก็ต้องได้รับละออกฝนด้วย

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

PIN-UP: Zoning and Schematic Design (Comments)

ในการนำเสนอ Zoning เเละ Schematic design ต่อลูกค้า ได้รับข้อชี้เเนะจากลูกค้า เเละอาจารย์ธีรพล ดังนี้

Space
- Space ที่ดูน่าตื่นเต้น
- Space ของเด็กที่ให้ปีนป่ายน้อยไป
- สร้าง space ที่ทำให้เกิดความตื่นเต้น ทำให้เห็นความเคลื่อนไหวทางอารมณ์ เเละไม่ควรให้อิทธิพลของที่มีอยู่เดิมมาเป็นพันธนาการ
- Space จะมีความหมายของมัน space ต้องซ้อนทับกันได้ เพราะมีความต่างเรื่องการใช้งานในเเต่ละช่วงเวลา
- Space เรือนไทยมันเล็กเกินไปเเล้ว
- Space--> Activities-->Activities เเบบไหน?
- Cozy space เช่น ศาลาธรรม
- ต้องคิดให้ลึกว่า ทำไมต้อง define ที่ว่างเเบบที่ออกเเบบมา
- ความต้องการ space มาก กลัวจะไม่พอ
- พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ทางวัฒนธรรม

Entrance
- ทางเข้าที่เเสดงความอบอุ่น เเละทางเดินที่เชื่อมต่อไปยังโรงช้าง
- ให้คิดตั้งเเต่ต้นทาง เรื่อง sense of arrival, spaceที่ 1, 2, 3 ทำเเบบนี้เพราะอะไร
- อยากให้เข้ามาถึงในโรงเรียนอันดับเเรกต้องเจอศิลปะ
- โรงเรียนรุ่งอรุณมีที่จอดรถเยอะที่สุด เเต่สามารถสละพื้นที่จอดรถให้เป็นทางเดินได้
- Transition ที่ทำให้คนเห็นธรรมชาติมากกว่าท้ายรถ
- การเลือกสิ่งให้เขาตีความยังไม่มี มันรวม ๆ ไปหมด การทำ gate ทึบ ๆ มืดๆ เเล้วระเบิดออก ต้องเลือกเเบบให้เหมาะสมกับความต้องการ
- การ drop เด็กตามอายุ เช่น เด็กโตตั้งเเต่ประถม ลงข้างหน้าโรงเรียน เด็กอนุบาลก็ drop ข้างในมีทางเดินให้สัก 2 เมตร
- หน้าโรงปั้นมีงานศิลปะ ดึงให้ไหลมาเรื่อย ๆ ด้วยอะไร

ผัง
- ต้องการให้เปิดพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับบึง
- ลานด้านหน้าเปลี่ยนเป็นลานอเนกประสงค์ เเละกลมกลืนไปกับของเดิม
- service routing ร้านค้าจะขนของยังไง
- เขียนผังให้ได้อารมณ์
- ต้นไม้เยอะไปต้องเลือกว่าจะเก็บต้นไหนไว้
- สร้างประสบการณ์ในการรับพลัง เวลาไหน จากอะไร
- กิจกรรมที่คนจะเข้าร่วมมีใครบ้าง เช่น มีการบวชเณร 100 รูป
- ผังมีความสำคัญมาก พื้น อาคาร space ทำให้เมืองสวย

อาคาร
- รูปแบบอาคารที่ดู Strike เเละหวือหวา
- อาคารไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบเหมือนเดิม
- ให้คำนึงถึงการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถทำได้หลายเเบบ
- เรือนศิลปะสามารถรื้อทำใหม่ได้
- คำนึงเรื่อง privacy ของเรือนศิลปะใหม่
- รูปแบบที่ น่าสนใจ ร่วมสมัย เเละสมวัย
- อาคารสมัยใหม่ที่เเสดงความเป็นรุ่งอรุณ เเละลุ่มลึก
- โรงช้างไม่ใช่พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เเต่เป็นพื้นที่อเนกประสงค์มากกว่า
- existing เป็นของโบราณ เเต่ของใหม่สามารถทำให้ทันสมัยได้
- โรงช้างมีความสำคัญเป็น lobby เป็น symbolic
- ส่วนสำคัญจริง ๆ น่าจะเป็นองค์พระมากกว่า
- เรือนศิลปะกลัวคนจะมามากหรือเปล่า หรือคิดว่าเขาจะมากินข้าวเเถวนั้นหรือเปล่าต้องตีความดี ๆ 
- minimum requirement ต้องเเค่ไหน อาคารเล็กไปหรือเปล่า

Presentation
- presentation ต้องพูดให้คนฟังเข้าใจ เเละประทับใจให้เร็วกว่านี้
- พูดจากความเข้าใจไม่ใช่จากตัวหนังสือ
- ใช้ graphic สวย ๆ
- กล้าอธิบายอย่างกล้าหาญ
- การ present ต้องมี leaflet

ข้อเสนอแนะ
- ทำที่สวย ๆ ที่สามารถถ่ายรูปออกมาได้สวย ๆ 
- การพูดถึงอารมณ์ความรู้สึกของคน จากอะไร เพื่ออะไร ต้องมาจากจิตใจ
- ไม่ต้องการอะไรที่ concentrate
- creative ให้สนุก
- ต้นที่เจาะผ่านหลังคาจะรั่ว
- มี shelter ด้านบนสำหรับลานโล่ง ๆ
- ต้นไม้ยิ่งเเก่มากยิ่งเอาออกยาก เเต่ถ้ามีเหตุผลเเละเเรงพอก็ไม่มีปัญหา
- ต้องหาเวลาไปทำ workshop กับอาจารย์
- กรุงเทพฯ ให้ความสำคัญกับรถยนตื เเต่เมืองอื่น ๆ สวย เพราะมี space ทางเดินให้คนผูกพันกับเมือง


สิ่งที่ต้องทำ
- คิดไอเดียในหัวว่าจากที่ได้คอมเม้นต์มาจะทำยังไงต่อ พื้นที่ต่าง ๆ ความสนุกอยู่ตรงไหน ถ้ามีพื้นที่เกิดขึ้นต้องมียังไง ผังเป็นยังไง รูปแบบอาคารที่จะตอบโจทย์
- ให้ sketch เเบบไหนที่จะตอบโจทย์ เช่น ลาน รูปแบบอาคาร เเละผังอาคาร

MLC: Community Engagement

ศูนย์การเรียนรู้มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขต ศาลายา (MLC) เกิดขึ้นจากการที่ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยมองเห็นว่าทางวิทยาเขตศาลายายังขาดพื้นที่ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวมหิดล เป็นที่ที่เเสดงถึงกายภาพ คือ ตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางของมหาวิทยาลัยที่จะมีการใช้งานมากโดยเฉพาะกับกับนักศึกษา เเละคุณค่าทางจิตวิญญาณของชาวมหิดล คือ เป็นไปในลักษณะเชิงสัญลักษณ์ที่เเสดงความเป็นมหิดล นอกจากนี้นโยบายของทางผู้บริหารยังต้องการเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยกับชุมชนโดยรอบ ทางสถาบันอาศรมศิลป์จึงได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งเเต่การจัดทำผังเเม่บท เเละปรับภูมิทัศน์ทั้งหมดของมหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว หรือ  eco-friendly เเละการกำหนดรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมต่อสภาพภูมิอากาศเขตร้อนชื้น เพื่อใช้ศักยภาพของบริบท เเละสภาพเเวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด


MLC ตั้งอยู่บนเเนวเเกนหลักของมหาวิทยาลัย อยู่ทางทิศเหนือของอาคารมหิดลสิทธาคาร ทางทิศตะวันตกเป็นหอพักนักศึกษา ทางทิศตะวันออกเป็นอาคารเรียนรวม

ภายในอาคารประกอบด้วยเเนวเเกนหลักสองเเกน เเกนด้านสกัดที่เชื่อมต่อระหว่างหอพักนักศึกษาไปสู่อาคารเรียนรวมผ่านพื้นที่ภายใน MLC เป็นส่วนที่ทางเข้าหลักถูกวางเอาไว้ เพื่อเชื่อมโยงนักศึกาามาสู่พื้นที่ที่เป็นชมรมต่าง ๆ ศูนย์อาหาร เเละAcademic zone นอกจากนี้ยังเน้นให้สามารถเข้าถึงโถงพระราชชนกที่อยู่บนชั้นถัดไปได้ด้วยบันไดทางขึ้นที่มีขนาดใหญ่ โอ่โถง เเสดงความเชื้อเชิญให้เข้าไป ในเเนวเเกนอีกเเกนหนึ่ง (เเกนด้านยาว) มีการจัดวางเชิงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของชาวมหิดลเอาไว้ เริ่มจากดอกกันภัยในโถงภายในอาคาร เสา ๗ ต้นที่บัญญัติความหมายของคำว่ามหิดลเอาไว้ เเละพระบรมรูปของพระบรมราชชนก เพื่อสรา้งพื้นที่ที่มีคุณค่าทางจิตใจของชาวมหิดล

พื้นที่ตั้งของเสา ๗ ต้น เปิดเป็นคอร์ทที่มีการใช้งานในช่วงเวลาเฉพาะ เช่น ประเพณีรับน้อง ที่นักศึกษาใหม่จะเข้ามาใช้งาน เเละมีรุ่นพี่โอบล้อมจากทุกทิศทาง ประกอบกับเสาที่เรียงรายเเสดงความเป็นมหิดล สรา้งให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับนักศึกษามีเบื้องหน้า เเละเบื้องหลังเป็นพระบรมรูปฯ เเละดอกกันภัย พื้นที่คอร์ทขนาดใหญ่นี้มีลักษณะทีเล่นทีจริงสามารถใช้งานได้หลากหลาย ในขณะที่คอร์ทบริเวณดอกกันภัยมีความรู้สึกที่เป็นพิธีการมากขึ้นจากลักษณะของบันไดสเปนที่วางอยู่ เเละการโอบล้อมของสิ่งต่าง ๆ โดยรอบ


อาคารนี้ถูกสรา้งสรรค์ขึ้น เพื่อรับใช้เเนวคิดการเรียนรู้เเบบบูรณาการ เน้นให้มีพื้นที่ปฏิสัมพันธ์กว่า ๕๐% สังเกตจากพื้นที่ว่างต่าง ๆ ในอาคารจะมีการออกเเบบพื้นที่ เเละการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ เพื่อเอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์มากมาย 

นอกจากนี้อาคารเเห่งนี้ได้รับการออกเเบบภายใต้รูปแบบสถาปัตยกรรมเขตร้อนชื้น ซึ่งเเสดงให้เห็นได้จากการมีช่องเปิดขนาดใหญ่ เเละการสรา้งคอร์ทขนาดใหญ่ ให้เกิดการไหลเวียบนของอากาศ การมีชายคายื่นออกจากตัวอาคารในระยะต่าง ๆ การนำเเสงจากภายนอกเข้ามาใช้ในตัวอาคาร  เพื่อสรา้งความสัมพันธ์ระหว่างภายในอาคาร เเละภายนอก หรือสิ่งเเวดล้อม เเละบริบทต่าง ๆ

วัสดุที่ใช้เป็นวัสดุที่เเสดงถึงพื้นผิว เเละคุณลักษณะของวัสดุที่ไม่มีการอำพราง เช่น ปูนเปลือย เเละอิฐ เป็นการเเสดงสัจจะของวัสดุ เเละรากเหง้าที่มาจากดิน ตามลำดับ ความพยายามเเสดงความเชื่อมโยงกับธรรมชาตินี้ เเสดงให้เห็นถึงความประสงค์ของสถาปนิกที่ต้องการให้ผู้ใช้งานสัมผัสถึงความเชื่อมโยงกับบริบท เเสดงให้เห็นว่า เราไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว 

ภายในอาคารชั้นล่างเพิ่มลูกเล่นที่เป็นบ่อน้ำเข้ามา เพื่อประโยชน์ในการสรา้งความชุ่มชื้น เเละสดชื่นให้กับพื้นที่ภายในอาคาร

บันไดภายในอาคารทุกจุดใช้สเกลลูกตั้ง ๑๕ ซม. ลูกนอน ๓๐ ซม. ทำให้รู้สึกเดินสบาย ไม่เมื่อย ไม่น่าเบื่อ เเละมีรูปแบบบันไดที่หลากหลายทำให้เวลาใช้งานไม่น่าเบื่ออีกด้วย

การใช้รูปแบบเสาภายในอาคารมีความน่าสนใจมาก เช่น บริเวณที่ใช้เสาเหลี่ยมเพื่อเน้นให้เกิดเส้นนำสายตาไปยังเเกนที่ต้องการ เเละเป็นการเเบ่ง space ที่ชัดเจนกว่าการใช้เสากลม
MLC มีลักษณะเป็น Recreation Center ขนาดใหญ่ใจกลางมหาวิทยาลัย ที่เป็นจุดรวมตัวเเห่งใหม่ของชาวมหิดล การนำระบบเเนวคิดเชิงสัญลักษณ์มาใช้งานภายในพื้นที่อาคารช่วยสรา้งความรู้สึกเป็นเจ้าของให้ผู้ใช้งาน เเละทำให้เกิดเป็นพื้นที่ที่ชาวมหิดลต้องนึกถึงทุกครั้งในการนัดพบเจอ ทำให้เข้าใจถึงวิธีการสร้างพื้นที่ที่เเสดงคุณค่าทางจิตวิญญาณ เเละขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์ทางกายภาพ เเละประโยชน์ใช้สอยเช่นกัน