วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

MLC: Community Engagement

ศูนย์การเรียนรู้มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขต ศาลายา (MLC) เกิดขึ้นจากการที่ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยมองเห็นว่าทางวิทยาเขตศาลายายังขาดพื้นที่ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวมหิดล เป็นที่ที่เเสดงถึงกายภาพ คือ ตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางของมหาวิทยาลัยที่จะมีการใช้งานมากโดยเฉพาะกับกับนักศึกษา เเละคุณค่าทางจิตวิญญาณของชาวมหิดล คือ เป็นไปในลักษณะเชิงสัญลักษณ์ที่เเสดงความเป็นมหิดล นอกจากนี้นโยบายของทางผู้บริหารยังต้องการเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยกับชุมชนโดยรอบ ทางสถาบันอาศรมศิลป์จึงได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งเเต่การจัดทำผังเเม่บท เเละปรับภูมิทัศน์ทั้งหมดของมหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว หรือ  eco-friendly เเละการกำหนดรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมต่อสภาพภูมิอากาศเขตร้อนชื้น เพื่อใช้ศักยภาพของบริบท เเละสภาพเเวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด


MLC ตั้งอยู่บนเเนวเเกนหลักของมหาวิทยาลัย อยู่ทางทิศเหนือของอาคารมหิดลสิทธาคาร ทางทิศตะวันตกเป็นหอพักนักศึกษา ทางทิศตะวันออกเป็นอาคารเรียนรวม

ภายในอาคารประกอบด้วยเเนวเเกนหลักสองเเกน เเกนด้านสกัดที่เชื่อมต่อระหว่างหอพักนักศึกษาไปสู่อาคารเรียนรวมผ่านพื้นที่ภายใน MLC เป็นส่วนที่ทางเข้าหลักถูกวางเอาไว้ เพื่อเชื่อมโยงนักศึกาามาสู่พื้นที่ที่เป็นชมรมต่าง ๆ ศูนย์อาหาร เเละAcademic zone นอกจากนี้ยังเน้นให้สามารถเข้าถึงโถงพระราชชนกที่อยู่บนชั้นถัดไปได้ด้วยบันไดทางขึ้นที่มีขนาดใหญ่ โอ่โถง เเสดงความเชื้อเชิญให้เข้าไป ในเเนวเเกนอีกเเกนหนึ่ง (เเกนด้านยาว) มีการจัดวางเชิงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของชาวมหิดลเอาไว้ เริ่มจากดอกกันภัยในโถงภายในอาคาร เสา ๗ ต้นที่บัญญัติความหมายของคำว่ามหิดลเอาไว้ เเละพระบรมรูปของพระบรมราชชนก เพื่อสรา้งพื้นที่ที่มีคุณค่าทางจิตใจของชาวมหิดล

พื้นที่ตั้งของเสา ๗ ต้น เปิดเป็นคอร์ทที่มีการใช้งานในช่วงเวลาเฉพาะ เช่น ประเพณีรับน้อง ที่นักศึกษาใหม่จะเข้ามาใช้งาน เเละมีรุ่นพี่โอบล้อมจากทุกทิศทาง ประกอบกับเสาที่เรียงรายเเสดงความเป็นมหิดล สรา้งให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับนักศึกษามีเบื้องหน้า เเละเบื้องหลังเป็นพระบรมรูปฯ เเละดอกกันภัย พื้นที่คอร์ทขนาดใหญ่นี้มีลักษณะทีเล่นทีจริงสามารถใช้งานได้หลากหลาย ในขณะที่คอร์ทบริเวณดอกกันภัยมีความรู้สึกที่เป็นพิธีการมากขึ้นจากลักษณะของบันไดสเปนที่วางอยู่ เเละการโอบล้อมของสิ่งต่าง ๆ โดยรอบ


อาคารนี้ถูกสรา้งสรรค์ขึ้น เพื่อรับใช้เเนวคิดการเรียนรู้เเบบบูรณาการ เน้นให้มีพื้นที่ปฏิสัมพันธ์กว่า ๕๐% สังเกตจากพื้นที่ว่างต่าง ๆ ในอาคารจะมีการออกเเบบพื้นที่ เเละการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ เพื่อเอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์มากมาย 

นอกจากนี้อาคารเเห่งนี้ได้รับการออกเเบบภายใต้รูปแบบสถาปัตยกรรมเขตร้อนชื้น ซึ่งเเสดงให้เห็นได้จากการมีช่องเปิดขนาดใหญ่ เเละการสรา้งคอร์ทขนาดใหญ่ ให้เกิดการไหลเวียบนของอากาศ การมีชายคายื่นออกจากตัวอาคารในระยะต่าง ๆ การนำเเสงจากภายนอกเข้ามาใช้ในตัวอาคาร  เพื่อสรา้งความสัมพันธ์ระหว่างภายในอาคาร เเละภายนอก หรือสิ่งเเวดล้อม เเละบริบทต่าง ๆ

วัสดุที่ใช้เป็นวัสดุที่เเสดงถึงพื้นผิว เเละคุณลักษณะของวัสดุที่ไม่มีการอำพราง เช่น ปูนเปลือย เเละอิฐ เป็นการเเสดงสัจจะของวัสดุ เเละรากเหง้าที่มาจากดิน ตามลำดับ ความพยายามเเสดงความเชื่อมโยงกับธรรมชาตินี้ เเสดงให้เห็นถึงความประสงค์ของสถาปนิกที่ต้องการให้ผู้ใช้งานสัมผัสถึงความเชื่อมโยงกับบริบท เเสดงให้เห็นว่า เราไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว 

ภายในอาคารชั้นล่างเพิ่มลูกเล่นที่เป็นบ่อน้ำเข้ามา เพื่อประโยชน์ในการสรา้งความชุ่มชื้น เเละสดชื่นให้กับพื้นที่ภายในอาคาร

บันไดภายในอาคารทุกจุดใช้สเกลลูกตั้ง ๑๕ ซม. ลูกนอน ๓๐ ซม. ทำให้รู้สึกเดินสบาย ไม่เมื่อย ไม่น่าเบื่อ เเละมีรูปแบบบันไดที่หลากหลายทำให้เวลาใช้งานไม่น่าเบื่ออีกด้วย

การใช้รูปแบบเสาภายในอาคารมีความน่าสนใจมาก เช่น บริเวณที่ใช้เสาเหลี่ยมเพื่อเน้นให้เกิดเส้นนำสายตาไปยังเเกนที่ต้องการ เเละเป็นการเเบ่ง space ที่ชัดเจนกว่าการใช้เสากลม
MLC มีลักษณะเป็น Recreation Center ขนาดใหญ่ใจกลางมหาวิทยาลัย ที่เป็นจุดรวมตัวเเห่งใหม่ของชาวมหิดล การนำระบบเเนวคิดเชิงสัญลักษณ์มาใช้งานภายในพื้นที่อาคารช่วยสรา้งความรู้สึกเป็นเจ้าของให้ผู้ใช้งาน เเละทำให้เกิดเป็นพื้นที่ที่ชาวมหิดลต้องนึกถึงทุกครั้งในการนัดพบเจอ ทำให้เข้าใจถึงวิธีการสร้างพื้นที่ที่เเสดงคุณค่าทางจิตวิญญาณ เเละขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์ทางกายภาพ เเละประโยชน์ใช้สอยเช่นกัน












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น