วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

PIN-UP: Zoning and Schematic Design (Comments)

ในการนำเสนอ Zoning เเละ Schematic design ต่อลูกค้า ได้รับข้อชี้เเนะจากลูกค้า เเละอาจารย์ธีรพล ดังนี้

Space
- Space ที่ดูน่าตื่นเต้น
- Space ของเด็กที่ให้ปีนป่ายน้อยไป
- สร้าง space ที่ทำให้เกิดความตื่นเต้น ทำให้เห็นความเคลื่อนไหวทางอารมณ์ เเละไม่ควรให้อิทธิพลของที่มีอยู่เดิมมาเป็นพันธนาการ
- Space จะมีความหมายของมัน space ต้องซ้อนทับกันได้ เพราะมีความต่างเรื่องการใช้งานในเเต่ละช่วงเวลา
- Space เรือนไทยมันเล็กเกินไปเเล้ว
- Space--> Activities-->Activities เเบบไหน?
- Cozy space เช่น ศาลาธรรม
- ต้องคิดให้ลึกว่า ทำไมต้อง define ที่ว่างเเบบที่ออกเเบบมา
- ความต้องการ space มาก กลัวจะไม่พอ
- พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ทางวัฒนธรรม

Entrance
- ทางเข้าที่เเสดงความอบอุ่น เเละทางเดินที่เชื่อมต่อไปยังโรงช้าง
- ให้คิดตั้งเเต่ต้นทาง เรื่อง sense of arrival, spaceที่ 1, 2, 3 ทำเเบบนี้เพราะอะไร
- อยากให้เข้ามาถึงในโรงเรียนอันดับเเรกต้องเจอศิลปะ
- โรงเรียนรุ่งอรุณมีที่จอดรถเยอะที่สุด เเต่สามารถสละพื้นที่จอดรถให้เป็นทางเดินได้
- Transition ที่ทำให้คนเห็นธรรมชาติมากกว่าท้ายรถ
- การเลือกสิ่งให้เขาตีความยังไม่มี มันรวม ๆ ไปหมด การทำ gate ทึบ ๆ มืดๆ เเล้วระเบิดออก ต้องเลือกเเบบให้เหมาะสมกับความต้องการ
- การ drop เด็กตามอายุ เช่น เด็กโตตั้งเเต่ประถม ลงข้างหน้าโรงเรียน เด็กอนุบาลก็ drop ข้างในมีทางเดินให้สัก 2 เมตร
- หน้าโรงปั้นมีงานศิลปะ ดึงให้ไหลมาเรื่อย ๆ ด้วยอะไร

ผัง
- ต้องการให้เปิดพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับบึง
- ลานด้านหน้าเปลี่ยนเป็นลานอเนกประสงค์ เเละกลมกลืนไปกับของเดิม
- service routing ร้านค้าจะขนของยังไง
- เขียนผังให้ได้อารมณ์
- ต้นไม้เยอะไปต้องเลือกว่าจะเก็บต้นไหนไว้
- สร้างประสบการณ์ในการรับพลัง เวลาไหน จากอะไร
- กิจกรรมที่คนจะเข้าร่วมมีใครบ้าง เช่น มีการบวชเณร 100 รูป
- ผังมีความสำคัญมาก พื้น อาคาร space ทำให้เมืองสวย

อาคาร
- รูปแบบอาคารที่ดู Strike เเละหวือหวา
- อาคารไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบเหมือนเดิม
- ให้คำนึงถึงการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถทำได้หลายเเบบ
- เรือนศิลปะสามารถรื้อทำใหม่ได้
- คำนึงเรื่อง privacy ของเรือนศิลปะใหม่
- รูปแบบที่ น่าสนใจ ร่วมสมัย เเละสมวัย
- อาคารสมัยใหม่ที่เเสดงความเป็นรุ่งอรุณ เเละลุ่มลึก
- โรงช้างไม่ใช่พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เเต่เป็นพื้นที่อเนกประสงค์มากกว่า
- existing เป็นของโบราณ เเต่ของใหม่สามารถทำให้ทันสมัยได้
- โรงช้างมีความสำคัญเป็น lobby เป็น symbolic
- ส่วนสำคัญจริง ๆ น่าจะเป็นองค์พระมากกว่า
- เรือนศิลปะกลัวคนจะมามากหรือเปล่า หรือคิดว่าเขาจะมากินข้าวเเถวนั้นหรือเปล่าต้องตีความดี ๆ 
- minimum requirement ต้องเเค่ไหน อาคารเล็กไปหรือเปล่า

Presentation
- presentation ต้องพูดให้คนฟังเข้าใจ เเละประทับใจให้เร็วกว่านี้
- พูดจากความเข้าใจไม่ใช่จากตัวหนังสือ
- ใช้ graphic สวย ๆ
- กล้าอธิบายอย่างกล้าหาญ
- การ present ต้องมี leaflet

ข้อเสนอแนะ
- ทำที่สวย ๆ ที่สามารถถ่ายรูปออกมาได้สวย ๆ 
- การพูดถึงอารมณ์ความรู้สึกของคน จากอะไร เพื่ออะไร ต้องมาจากจิตใจ
- ไม่ต้องการอะไรที่ concentrate
- creative ให้สนุก
- ต้นที่เจาะผ่านหลังคาจะรั่ว
- มี shelter ด้านบนสำหรับลานโล่ง ๆ
- ต้นไม้ยิ่งเเก่มากยิ่งเอาออกยาก เเต่ถ้ามีเหตุผลเเละเเรงพอก็ไม่มีปัญหา
- ต้องหาเวลาไปทำ workshop กับอาจารย์
- กรุงเทพฯ ให้ความสำคัญกับรถยนตื เเต่เมืองอื่น ๆ สวย เพราะมี space ทางเดินให้คนผูกพันกับเมือง


สิ่งที่ต้องทำ
- คิดไอเดียในหัวว่าจากที่ได้คอมเม้นต์มาจะทำยังไงต่อ พื้นที่ต่าง ๆ ความสนุกอยู่ตรงไหน ถ้ามีพื้นที่เกิดขึ้นต้องมียังไง ผังเป็นยังไง รูปแบบอาคารที่จะตอบโจทย์
- ให้ sketch เเบบไหนที่จะตอบโจทย์ เช่น ลาน รูปแบบอาคาร เเละผังอาคาร

MLC: Community Engagement

ศูนย์การเรียนรู้มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขต ศาลายา (MLC) เกิดขึ้นจากการที่ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยมองเห็นว่าทางวิทยาเขตศาลายายังขาดพื้นที่ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวมหิดล เป็นที่ที่เเสดงถึงกายภาพ คือ ตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางของมหาวิทยาลัยที่จะมีการใช้งานมากโดยเฉพาะกับกับนักศึกษา เเละคุณค่าทางจิตวิญญาณของชาวมหิดล คือ เป็นไปในลักษณะเชิงสัญลักษณ์ที่เเสดงความเป็นมหิดล นอกจากนี้นโยบายของทางผู้บริหารยังต้องการเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยกับชุมชนโดยรอบ ทางสถาบันอาศรมศิลป์จึงได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งเเต่การจัดทำผังเเม่บท เเละปรับภูมิทัศน์ทั้งหมดของมหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว หรือ  eco-friendly เเละการกำหนดรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมต่อสภาพภูมิอากาศเขตร้อนชื้น เพื่อใช้ศักยภาพของบริบท เเละสภาพเเวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด


MLC ตั้งอยู่บนเเนวเเกนหลักของมหาวิทยาลัย อยู่ทางทิศเหนือของอาคารมหิดลสิทธาคาร ทางทิศตะวันตกเป็นหอพักนักศึกษา ทางทิศตะวันออกเป็นอาคารเรียนรวม

ภายในอาคารประกอบด้วยเเนวเเกนหลักสองเเกน เเกนด้านสกัดที่เชื่อมต่อระหว่างหอพักนักศึกษาไปสู่อาคารเรียนรวมผ่านพื้นที่ภายใน MLC เป็นส่วนที่ทางเข้าหลักถูกวางเอาไว้ เพื่อเชื่อมโยงนักศึกาามาสู่พื้นที่ที่เป็นชมรมต่าง ๆ ศูนย์อาหาร เเละAcademic zone นอกจากนี้ยังเน้นให้สามารถเข้าถึงโถงพระราชชนกที่อยู่บนชั้นถัดไปได้ด้วยบันไดทางขึ้นที่มีขนาดใหญ่ โอ่โถง เเสดงความเชื้อเชิญให้เข้าไป ในเเนวเเกนอีกเเกนหนึ่ง (เเกนด้านยาว) มีการจัดวางเชิงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของชาวมหิดลเอาไว้ เริ่มจากดอกกันภัยในโถงภายในอาคาร เสา ๗ ต้นที่บัญญัติความหมายของคำว่ามหิดลเอาไว้ เเละพระบรมรูปของพระบรมราชชนก เพื่อสรา้งพื้นที่ที่มีคุณค่าทางจิตใจของชาวมหิดล

พื้นที่ตั้งของเสา ๗ ต้น เปิดเป็นคอร์ทที่มีการใช้งานในช่วงเวลาเฉพาะ เช่น ประเพณีรับน้อง ที่นักศึกษาใหม่จะเข้ามาใช้งาน เเละมีรุ่นพี่โอบล้อมจากทุกทิศทาง ประกอบกับเสาที่เรียงรายเเสดงความเป็นมหิดล สรา้งให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับนักศึกษามีเบื้องหน้า เเละเบื้องหลังเป็นพระบรมรูปฯ เเละดอกกันภัย พื้นที่คอร์ทขนาดใหญ่นี้มีลักษณะทีเล่นทีจริงสามารถใช้งานได้หลากหลาย ในขณะที่คอร์ทบริเวณดอกกันภัยมีความรู้สึกที่เป็นพิธีการมากขึ้นจากลักษณะของบันไดสเปนที่วางอยู่ เเละการโอบล้อมของสิ่งต่าง ๆ โดยรอบ


อาคารนี้ถูกสรา้งสรรค์ขึ้น เพื่อรับใช้เเนวคิดการเรียนรู้เเบบบูรณาการ เน้นให้มีพื้นที่ปฏิสัมพันธ์กว่า ๕๐% สังเกตจากพื้นที่ว่างต่าง ๆ ในอาคารจะมีการออกเเบบพื้นที่ เเละการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ เพื่อเอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์มากมาย 

นอกจากนี้อาคารเเห่งนี้ได้รับการออกเเบบภายใต้รูปแบบสถาปัตยกรรมเขตร้อนชื้น ซึ่งเเสดงให้เห็นได้จากการมีช่องเปิดขนาดใหญ่ เเละการสรา้งคอร์ทขนาดใหญ่ ให้เกิดการไหลเวียบนของอากาศ การมีชายคายื่นออกจากตัวอาคารในระยะต่าง ๆ การนำเเสงจากภายนอกเข้ามาใช้ในตัวอาคาร  เพื่อสรา้งความสัมพันธ์ระหว่างภายในอาคาร เเละภายนอก หรือสิ่งเเวดล้อม เเละบริบทต่าง ๆ

วัสดุที่ใช้เป็นวัสดุที่เเสดงถึงพื้นผิว เเละคุณลักษณะของวัสดุที่ไม่มีการอำพราง เช่น ปูนเปลือย เเละอิฐ เป็นการเเสดงสัจจะของวัสดุ เเละรากเหง้าที่มาจากดิน ตามลำดับ ความพยายามเเสดงความเชื่อมโยงกับธรรมชาตินี้ เเสดงให้เห็นถึงความประสงค์ของสถาปนิกที่ต้องการให้ผู้ใช้งานสัมผัสถึงความเชื่อมโยงกับบริบท เเสดงให้เห็นว่า เราไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว 

ภายในอาคารชั้นล่างเพิ่มลูกเล่นที่เป็นบ่อน้ำเข้ามา เพื่อประโยชน์ในการสรา้งความชุ่มชื้น เเละสดชื่นให้กับพื้นที่ภายในอาคาร

บันไดภายในอาคารทุกจุดใช้สเกลลูกตั้ง ๑๕ ซม. ลูกนอน ๓๐ ซม. ทำให้รู้สึกเดินสบาย ไม่เมื่อย ไม่น่าเบื่อ เเละมีรูปแบบบันไดที่หลากหลายทำให้เวลาใช้งานไม่น่าเบื่ออีกด้วย

การใช้รูปแบบเสาภายในอาคารมีความน่าสนใจมาก เช่น บริเวณที่ใช้เสาเหลี่ยมเพื่อเน้นให้เกิดเส้นนำสายตาไปยังเเกนที่ต้องการ เเละเป็นการเเบ่ง space ที่ชัดเจนกว่าการใช้เสากลม
MLC มีลักษณะเป็น Recreation Center ขนาดใหญ่ใจกลางมหาวิทยาลัย ที่เป็นจุดรวมตัวเเห่งใหม่ของชาวมหิดล การนำระบบเเนวคิดเชิงสัญลักษณ์มาใช้งานภายในพื้นที่อาคารช่วยสรา้งความรู้สึกเป็นเจ้าของให้ผู้ใช้งาน เเละทำให้เกิดเป็นพื้นที่ที่ชาวมหิดลต้องนึกถึงทุกครั้งในการนัดพบเจอ ทำให้เข้าใจถึงวิธีการสร้างพื้นที่ที่เเสดงคุณค่าทางจิตวิญญาณ เเละขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์ทางกายภาพ เเละประโยชน์ใช้สอยเช่นกัน