Assignment I : Case study
จากการลงพื้นที่จริง เเละสัมภาษณ์กลุ่มครูในระดับชั้นเรียนต่าง ๆ เเละเจ้าหน้าที่โรงเรียนรุ่งอรุณ เเละได้ศึกษาทบทวนข้อมูลที่ได้มาทั้งหมด เพื่อความเข้าใจปัจจุบันกาล เเละอนาคตกาลของพื้นที่โครงการที่มากขึ้น ทำให้เห็นประเด็นที่สนใจที่ต้องการใช้เป็นจุดเริ่มต้นการทำงานออกเเบบโครงการปรับปรุงพื้นที่ของโรงเรียน คือ เรื่องอาคาร หรือสิ่งก่อสรา้งที่จะต้องดำรงไว้ในพื้นที่ตามนโยบายของผู้บริหาร เพียงเเต่ทางผู้ออกเเบบจะจัดการสิ่งก่อสร้างนั้น ๆ อย่างไรให้มีความกลมกลืนกับธรรมชาติขิงรุ่งอรุณ เเละมีความงามเชิญชวนให้คนภายใน เเละภายนอกรู้สึกถึงคำว่ารุ่งอรุณ เป็นการเจาะประเด็นที่เป็นความต้องการของลูกค้าก่อนเป็นอันดับแรกว่า เขาอยากได้อะไรบ้าง และมีปัญหาอะไร รวมทั้งภาพรวมทั้งหมดของ site
ภาพที่ ๑ การเลือกประเด็นที่สนใจ ซึ่งก็คือ Problems and Requirements ของพื้นที่นั้น
อาคารและสิ่งก่อสร้างที่จะมีขึ้นอย่างแน่นอน(จากบทสัมภาษณ์ผู้บริหาร) คือ ร้านกระยาทิพย์ เเละสานอักษรหลังใหม่ที่จะมีพื้นที่มากกว่าเดิมถึง ๒ เท่า เเละพื้นที่ด้านทางเข้าของโรงเรียนที่เปรียบเสมือนห้องรับแขกหรือประตูบ้าน ซึ่งเป็นคุณค่าและลักษณะของ site เเละทำหน้าที่เป็น Assembly point หรือ Node หรือ Junction ที่เชื่อมโยงอนุบาล ประถมและมัธยม พื้นที่เเห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็น Economic Area ซึ่งเป็นจุดและทำเลที่ดีต่อการค้าขาย และสุดท้ายเป็นการวางตัวของอาคารให้กลมกลืนกับบริบทโดยรอบ ทั้งหมดคือสิ่งที่ผู้ออกเเบบสนใจ เเละตั้งเป็นเป้าหมายในการออกเเบบ![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjnXw7qk44x6rKpOF08EWWWW3qZZPgCqfUT6NUOkZF3xumc7HcylFJeyilNiLTQOuFp-CRDDuIScTbXrNaXZ7rnqCsrSXkT0Ib5FH7NQejUCkUUOrtnTaWBlU7J1T-ryXcecQ757NTcohUj/s640/Slide2.JPG)
ภาพที่ ๒ Wilde and Greene Restaurant and Natural Market Oak Tree Installation
เนื่องจากยังภาพในหัวของสิ่งข้างต้นยังถูกปกคลุมด้วยม่านหมอก แต่เกิดสะกิดใจเรื่องของการวางร้านค้าทั้ง 6 ร้านกระจายเป็นซุ้มๆ ร้านกระยาทิพย์ซึ่งจะใหญ่กว่าเดิม 2 เท่า ร้านสานอักษร จึงเกิดคำถามเรื่องการจัดวางอาคารโดยคำนึงถึงบริบทโดยรอบ เพราะ เอกลักษณ์ของรุ่งอรุณที่สร้างสรรค์สถาปัตยกรรมให้กลมกลืนกับธรรมชาติที่เเวดล้อมอยู่ จึงค้นหากรณีศึกษาที่มีการสร้างพื้นที่เศรษฐกิจให้อยู่ในบริบทธรรมชาติ จะเห็นได้จากภาพที่ ๒ เเละ ๓ ซึ่งตัวอาคารล้อมรอบต้นไม้ ซึ่งในความคิดของผู้ออกเเบต้องการให้จัดวางต้น ต้นสาละ ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนรุ่งอรุณมาไว้ในพื้นที่ด้วย เพื่อเเสดงสัญลักษณ์ของโรงเรียนซึ่งจะผลิดอกออกผล ร่วงโรย ไปตามฤดูกาล ซึ่งจะสื่อถือกาลเวลาที่เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ ไม่มีวันหยุดซึ่งเป็นสัจธรรมอย่างหนึ่งของโลก
เพื่อให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของชั้นบนและล่าง ร้านค้าทั้ง 6 ร้าน ร้านกระยาทิพย์ สานอักษรต้องมีการเชื่อมโยงกัน และอาจทำเป็นห้องรับแขกเป็นหน้าบ้านสำหรับรุ่งอรุณ โดยกันแบ่งทอนพื้นที่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ร้านกระยาทิพย์อาจแบ่งพื้นที่ให้ขึ้นไปอยู่บนร้านหนังสือ เพื่อคนที่จะนำอาหารขึ้นไปทานบนนั้นระหว่างเลือกดูหนังสือ
ภาพที่ ๔ วิธีการสร้างความโปร่งของผนังที่ทำเป็นระแนง
เนื่องจากมีคำเเนะนำของคณาจารย์โรงเรียนว่า อาคารสานอักษรเดิมนั้นใช้ผนังทึบ ทำให้พื้นที่ดูไม่โปร่ง โล่ง สบาย จึงต้องการแก้ปัญหาเรื่องความทึบของอาคาร และเพิ่มปริมาณแสงเข้าสู่อาคาร เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และตอบโจทย์ ความโปร่ง โล่ง สบาย รวมทั้งยังช่วยกันแดด กันฝน ของอาคาร อีกทั้งยังคงคุณลักษณะที่ส่งเสริมการสัมผัสถึงสิ่งแวดล้อมภายนอก แม้ว่าจะอยู่ภายในอาคาร ด้วยการใช้ผนังอาคารแบบโปร่ง เป็นระเเนง มีคุณสมบัติช่วยเรื่องการระบายอากาศที่ร้อนอบอ้าว นอกจากนี้ยังช่วยลดความเป็นอาคารลงด้วย
ภาพที่ ๕ Ward House
กรณีศึกษาในภาพที่ ๕ เเสดงลักษณะพื้นที่เหมือนทางเข้าของรุ่งอรุณ มี Approach และ Entrance ที่น่าสนใจ คือ อาคารล้อมจุดสนใจ และ circulation ที่พาจากวงเวียนเข้าสู่ตัวอาคาร อีกทั้งยังเป็น Transition ก่อนเข้าถึงโรงเรียนสำหรับเด็กนักเรียนและผู้ปกครองที่ต้องตื่นเช้ามารับมาส่ง อีกทั้งช่วงบ่ายที่ผู้ปกครองต้องเผชิญกับรถติดหนักๆ หรือปัญหาข้างนอกก่อนเข้ามารับเด็กๆ กลับ ผู้ออกเเบบมีมโนภาพว่า กลุ่มคนเหล่านี้อยากจะเห็นภาพอะไรภาพเเรก เมื่อเข้าสู่รั้วโรงเรียน ซึ่งน่าจะเป็นภาพที่กระตุ้นความรู้สึกให้มีความกระตือรือร้น เป็ฯ First Impression ทุกครั้งเมื่อเด็ก ๆ เเละผู้ปกครองมาถึงโรงเรียน เหมือนเป็นการเดินทางมาบ้านหลังที่ ๒ ของผู้ใช้งานทุกคน
ภาพที่ ๖ Fukutake Terrace, Okayama University
กรณีศึกษาในภาพที่ ๖ ผู้ออกเเบบสนใจการจัดวางภายในอาคาร เพื่อนำมาปรับใช้กับการออกแบบ โดยเฉพาะเรื่องการวางตัวของร้านค้า 6 ร้าน ที่มองว่าเป็นปัญหาในพื้นที่ตอนนี้ ซึ่งมีลักษณะเป็น open air อีกทั้งทางเข้าออกที่มีได้หลากหลายทาง สร้างความยืดหยุ่นในการเข้าถึงพื้นที่ โดยใช้วัสดุพื้นที่เเตกต่างจากบริบทรอบ ๆ เเสดงขอบเขตขอพื้นที่ เเละใช้เป็นพื้นที่นั่งรอได้
ภาพที่ ๗ Rising Moon Lantern Pavilion
ผู้ออกเเบบยังต้องการนำสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนรุ่งอรุณเข้าใาใช้ในการออกเเบบ การแยกขยะ ก็เป็นเอกลักษณ์หนึ่งของโรงเรียนรุ่งอรุณ ดังนั้นการนำขยะที่ไม่ใช้แล้วมาทำการ Recycle/Reuse โดยทำเป็นอาคารที่มีองค์ประกอบของวัสดุเหล่านี้ ก็จะช่วยส่งเสริมอัตลักษณ์ของโรงเรียนรุ่งอรุณสู่สายตาของผู้คนได้มากขึ้น โดยภายในอาคารสามารถใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ได้ด้วย
ภาพที่ 8. ลักษณะ Overhead Plan ที่สร้างความโปร่งโล่งให้กับพื้นที่
สุดท้ายผู้ออกเเบบคิดถึงรายละเอียดบางอย่างที่ได้จากบทสัมภาษณ์ คือ ความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาความชื้น แดดและฝน ลักษณะหลังคาดังภาพเเสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์ในการอนุโลมให้เเสงสาดส่องลงมายังพื้นที่ด้านล่างได้ เเละการยกหลังคาให้สูงโปร่งเพื่อการระบายอากาศ เเละไล่ความชื้นให้ออกจากพื้นที่ รวมทั้งยังสนใจรูปแบบของดีไซน์หลังคาที่เรียบง่าย เเละยังคงคุณประโยชน์ในการสัมผัสกับธรรมชาติโดยรอบได้
ข้อเสนอแนะ
1. เลือกประเด็นที่สนใจจริงๆ แล้วจัดการกับมันให้ลึก
2. ให้ลองพิจารณาถึงคำว่ารูปแบบการจัดวางของสินค้าที่ทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างคนข้างในกับข้างนอก โดยคิดจากหน่วยย่อยที่สุดในร้านค้า คือ ชั้นวางสินค้าเพื่อเอื้อให้เกิดประโยชน์ต่อโครงการโดยอาจจะไปศึกษาการจัดวางสินค้าในร้านค้าว่าเขาจัดอย่างไร มีกี่แบบ เพื่ออะไร แล้วเราจะเอาแบบไหนมาใช้เพื่อให้เหมาะสมกับโครงการของเรา โดยมีตัวแปร 2 อย่างคือ user ที่อยู่ในพื้นที่และลูกค้า
ชอบแนวคิดที่ว่า "อยากให้ผู้ปกครองและเด็กที่มาโรงเรียนตอนเช้าๆเจออะไรและตอนบ่ายที่ผู้ปกครองต้องเผชิญหน้ากับรถติดและพอเข้ามาถึงโรงเรียนแล้วอยากให้เจออะไรในความประทับใจแรก" น่าสนใจมากครับ
ตอบลบ