สิ่งที่ได้รับจากการร่วมงานครั้งนี้หลักๆ เลยคือ การทำให้แนวคิดในการออกแบบสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้้งไว้ ร่วมถึงได้เรียนรู้แนวทางในการออกแบบที่มีความลึกซึ้ง การมองบริบทรอบด้าน การสื่อสารผ่านทางสถาปัตยกรรม ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงต้องขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีที่จัดงานดีๆ อย่างนี้ รวมถึงสถาปนิกทุกท่าน คณาจารย์ และนักศึกษาทุกท่านที่มีส่วนให้เกิดงานนี้ขึ้น
ขอบคุณค่ะ
และนี่คือบันทึกการเรียนรู้ที่ได้จากงานนี้ค่ะ
อุทยานการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป้าหมาย- การเทิดทูน 3 คณาจารย์ได้แก่ อ.ป๋วย อึ๊งพากรณ์ อ.ปรีดีย์ พนมยงค์ อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ ผู้ซึ่งเป็นสามัญชนธรรมดา แต่สร้างคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ
แนวคิดการออกแบบ
- การสร้างสวนสาธารณะ 100 ไร่ เพื่อตอบแทนการทำงานเพื่อนชาติ โดยการสร้างสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ ให้ประชาชนรอบๆมาใช้งาน และการสร้างอาคารที่ดูนอบน้อม ติดดิน เหมือนการหมอบกราบ เพื่อเคารพต่อวีรชน
ลานกีฬาพัฒน์
เป้าหมาย- สร้างพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ให้กับชุมชน พื้นที่ที่ทำให้เกิดสุขภาวะในชุมชน เพราะปกติแล้วคนในชุมชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ห้องในที่เป็นกล่องสี่เหลี่ยม ห้องใครห้องมัน และพื้นที่ส่วนกลางก็รกร้าง มีแต่คนมาทิ้งขยะ ไม่มีคนคอยดูแล
แนวคิดการออกแบบ
- สร้างพื้นที่ให้คนในชุมชนใช้เวลาอยู่ร่วมกันนานขึ้น และให้ความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของเกิดขึ้นแก่คนในชุมชน
กสทช Head Office แคราย นนทบุรี
เป้าหมาย- อยากให้ กสทช เป็นที่รักของคนในชุมชน ทำให้คนในองค์กรมีความภาคภูมิใจในองค์กร (ซึ่งความคิดเดิมของผู้บริหาร คือ ต้องการทำตึกให้สูงๆ เหมือนตึกปตท เพื่อที่จะให้ดูเท่ห์ๆ สูงๆ และถูกใจแก่ผู้พบเห็น)
- เป็นธรรมและเป็นประโยชน์
แนวคิดการออกแบบ
- การเพิ่มพื้นที่สีเขียว(ซึ่งเป็นส่วนน้อยของประเทศเข้าไป) ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพื้นที่สีเขียวน้อยกว่ามาตรฐานถึง 5 เท่า
- โดยการสร้าง Green terrace for the city เข้าไปในอาคารเพื่อให้พนักงาน ผู้ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 20,000 บาทต่อคน คนที่ไม่ได้มีบ้านสวยๆ ให้ได้มีสุขภาพกายใจที่ดีในระหว่างการทำงานวันละ 8 ชั่วโมง สถาปัตยกรรมชิ้นนี้ต้องการทำให้คุณภาพชีวิตของพนักงานดีขึ้น จากการมองหรือสัมผัส green terrace นี้ก็น่าจะทำให้พนักงานรู้สึกภาคภูมิใจในองค์กรของตัวเอง
- การสร้าง open-space ของอาคารใหญ่ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่สีเขียว เพื่อให้ประชาชนเข้ามาใช้งานได้ร่วมกันกับการจัดวางร้านค้า museum ไว้ด้านหน้า เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายเช่นกัน
- การเปลี่ยนอุปสรรค ให้เป็นโอกาส จากเส้นทางที่รถไฟฟ้าจะวิ่งผ่าพื้นที่ ทำให้กสทชไม่สามารถสร้างตึกหรืออาคารที่สูงได้ เลยปรับเปลี่ยนแนวคิดเป็นอาคารที่ไม่สูง และเพิ่มพื้นที่สีเขียวเข้าไปในอาคาร เพื่อให้ประชาชนที่โดยสารบนรถไฟฟ้าได้พูดคุยกับกสทชทุกวันผ่านสถาปัตยกรรมเหล่านี้ และดูเป็นอาคารที่อ่อนน้อมต่อ Landscape
SC3 กทม Student center 3
เป้าหมาย- ออกแบบอาคารเรียนและห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 คือ การเรียนรู้ที่ไม่ใช่แค่ผู้สอนและนักเรียน แต่เป็นการเรียนรู้ระหว่างนักเรียนเองทั้งในอาคารและนอกอาคารเรียน
- การสร้างสถาปัตยกรรมให้เป็นอัตลักษณ์ของสถาบัน
- เป็นศูนย์กลางให้ทุกคณะมาเรียนร่วมกัน มาพบปะกัน
แนวคิดการออกแบบ
- การสร้าง community space เชื่อมระหว่างคณะสร้างการปฏิสัมพันธ์กันขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ พบปะพูดคุยกันของนักศึกษาจากหลายๆ คณะ
- สร้างบรรยากาศการเรียนรู้โดยให้มีธรรมชาติเชื่อมโยงอยู่ในสถานศึกษา เป็นการสร้าง spirit of space ให้เกิดขึ้นกับทุกคน
- สร้างสถาปัตยกรรมให้สวยๆ เพื่อดึงดูดให้คนมาถ่ายรูปโดยใช้ Landscape ที่มีอยู่และปรับปรุงให้สวยงาม เป็นการสร้างอัตลักษณ์ของสถาบัน
- มี space ที่หลากหลาย เช่น community space ที่ให้นักศึกษาทุกคณะมาพบปะกัน นอกจากนั้นยังมี space สำหรับการปฏิสัมพันธ์กลุ่มย่อย และ space สำหรับการนั่ง ทำงานคนเดียว คือ มีหลากหลายตั้งแต่ public zone ไปถึง private zone
- กิจกรรมที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นการเรียนอย่างเดียว แต่ยังมีการพักผ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูง
- เก็บพื้นที่ประวัติศาสตร์ของเดิมไว้เช่น stonehenge จากเอเชียนเกมส์ และพื้นที่พบรักในสมัยก่อนของมหาลัย
- สร้างพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างชุมชนกับมหาลัย เช่น ร้านกาแฟเปิด 24 ชั่วโมงหรือร้านข้าวเพื่อให้คนในชุมชนบริเวณรอบมาใช้งาน สร้างความมีชีวิตให้กับมหาลัย
สุดยอดมากเลยคร้าบ จดไม่ทันเลย จดได้แค่บางเรื่องไม่ได้แบ่งเป็นงานๆด้วย รวมหมดเลย ฮ่าๆๆ
ตอบลบ